พัฒนาการของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเรื่องราวที่ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยเรียนรู้จากต่างประเทศ จากระยะแรกผ่านซีกโลกตะวันมาถึงปัจจุบันได้หันกลับมาศึกษาในซีกโลกตะวันออก ซึ่งปัจจุบันภูมิภาคเอเชียได้กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้พัฒนาการธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีนัยสำคัญ
Franchise Talk by Peerapong
โดย ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ผู้เชี่ยวชาญด้านค้าปลีกและแฟรนไชส์ของไทย ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในฐานะผู้รู้รุ่นบุกเบิกที่มีประสบการณ์การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เป็นโอกาสอันดีที่เราจะมาศึกษา จากการติดตามเนื้อหาต่อเนื่อง 2 ตอน โดยแบ่งออกเป็นระยะของการพัฒนาจากตะวันตกสู่ตะวันออกของธุรกิจแฟรนไชส์ในระยะก่อนและหลังปี ค.ศ. 2000
จุดเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจแฟรนไชส์
การเริ่มขึ้นของแฟรนไชส์เกิดเมื่อราวกลางศตวรรษที่ 19 จากเจ้าของธุรกิจโรงเบียร์เยอรมันทำสัญญาการขายเบียร์ของตนในร้านเหล้าของเหล่าบรรดาที่พักต่างๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1851 ไอแซคซิงเกอร์ได้กลายเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สัญชาติอเมริกันซึ่งเขาเริ่มขายสิทธิในการขายจักรเย็บผ้าให้กับนักเดินทางอิสระเพื่อขายจักรเย็บผ้าให้กับผู้ใช้ปลายทาง จากนั้นก็ตามาด้วยตำนานแรนด์ดังไม่วาจะเป็น Coca-Cola , อุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทน้ำมันรายใหญ่ มาจนถึงแฟรนไชส์อาหารจานด่วนที่เก่าแก่ที่สุดคือ A&W จึงไม่น่าแปลกใจว่าในระยะเริ่มแรกการเรียนรู้เรื่องแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการไทยจะเป็นการศึกษาจากประเทศตะวันตก ด้วยเหล่าบรรดาผู้ที่มีโอกาสไปศึกษาต่อหรือไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
พัฒนาการระบบแฟรนไชส์ในเอเชีย
ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ กูรูแฟรนไชส์ได้ลำดับพัฒนาการของการเรียนรู้ระบบแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการไทยไว้ว่า เริ่มต้นจาก อเมริกา ตามมาที่ อังกฤษ ยุโรป และปัจจุบันได้หันมาศึกษาจากธุรกิจแฟรนไชส์ในเอเชีย ทั้งนี้ ประเทศที่เป็นผู้เริ่มก่อนในการพัฒนาระบบแฟรนไชส์แรกๆ คือ ญี่ปุ่น โดยเป็นการนำเอาวิธีคิดของชาวอเมริกันมาใช้ตั้งแต่ปี 1962 พัฒนาด้าน Convenience Store คนญี่ปุ่นมีวินัย หรือ Discipline เกิดก่อนแต่การพัฒนาค่อนข้างล้าหลัง
สำหรับประเทศที่มีการพัฒนาด้านการขยายแฟรนไชส์ ได้แก่ สิงค์โปร มาเลเซีย ฮ่องกง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า ญี่ปุ่นที่เป็น Manufactural Base หรือผู้ผลิต จึงพัฒนารูปแบบไปในรูปแบบของการใช้ไลเซนส์ (License) เป็นหลัก ดังนั้น ในระยะก่อนปี ค.ศ.2000 ระบบแฟรนไชส์ในญี่ปุ่นจึงไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่
ในครั้งหน้าจะมาติดตามพัฒนาการของธุรกิจแฟรนไชส์ในภูมิภาคเอเชีย ช่วงปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีหมู่เกาะกว่า 7,000 เกาะอย่างฟิลิปปินส์ที่ได้รับอานิสงค์ของการกระจายตัวที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการ ซึ่งระบบแฟรนไชส์ได้เข้ามาตอบโจทย์จนส่งผลต่อความก้าวหน้าอย่างน่าสนใจของประเทศนี้ รวมถึงการวิเคราะห์ทิศทางของระบบแฟรนไชส์ในภูมิภาคอาเซียนนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป
หากท่านต้องการเรียนรู้พัฒนาการธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยสามารถติดตามคลิปย้อนหลังได้ทาง