ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกๆของเอเชียที่มีการพัฒนาด้านระบบธุรกิจแฟรนไชส์แต่ได้ชะลอการเติบโตด้วยปัจจัยจากการเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการผลิต ในขณะที่ประเทศที่เป็นหมู่เกาะกลับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านระบบแฟรนไชส์อย่างก้าวกระโดด
ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านค้าปลีกและแฟรนไชส์ของไทย ได้ย้อนให้ฟังถึงการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศในอาเซียนช่วงหลังปี ค.ศ.2000ไว้ใน Franchise Talk by Peerapong ว่า ประเทศที่มีภูมิศาสตร์เป็นประเทศหมู่เกาะอย่างเช่นประเทศฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาด้านธุรกิจแฟรนไชส์ จากข้อได้เปรียบด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดระบบธุรกิจด้วยภาษาอังกฤษ โดยวัดจากจำนวนธุรกิจที่มีมากถึง 850 ธุรกิจ ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันประเทศไทยมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ราว 60 กิจการและปรับเพิ่มขึ้น-ลดลงเป็นระยะเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์ 400 กว่ากิจการ ซึ่งในจำนวนนี้ก็ไม่ได้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์อย่างแท้จริงทั้งหมด (เรียนรู้เพิ่มเติมธุรกิจที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ที่แท้จริงจาก)
- Franchise Clinic 05 ออกแบบแฟรนไชส์ราคาต่ำ
- Franchise Clinic 07 ระบบแฟรนไชส์หรือขายวัตถุดิบ
- Franchise Clinic 08 ระบบแฟรนไชส์ต่างจากระบบร่วมทุนอย่างไร
อีกประเทศหนึ่งที่มีความได้เปรียบจากภูมิประเทศ คือ มาเลเซีย ซึ่งการบริหารระบบขนส่งในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งฟิลิปปินส์และมาเลเซียจึงจำเป็นต้องใช้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ จนสามารถขยายธุรกิจได้นับพันสาขาสำหรับพื้นที่กว่า 7,000 เกาะของฟิลิปปินส์ หรือ นับหมื่นเกาะของมาเลเซีย ซึ่งระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีสาขามากพอที่จะเรียนรู้ด้านการจัดการ จะต่างจากประเทศที่เป็นเกาะอย่างสิงคโปร์ที่แม้จะใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน แต่มีข้อด้อยด้วยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดทำให้ไม่สามารถขยายธุรกิจเป็น 100 สาขาเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งประเทศที่เป็นเกาะอย่างฮ่องกง และสิงโปร์ มักนิยมการอาศัยการต่อยอดจากแฟรนไชส์ข้ามชาติอย่างยุโรปและอเมริกาด้วยการเป็น Master or Reginal Franchise รับผิดชอบเป็นภาคพื้น โดยถือสิทธิ์ครอบคลุมหลายประเทศ
ในครั้งหน้ามาติดตามกันต่อว่าหลังปี ค.ศ.2000 พัฒนาการด้านแฟรนไชส์ของประเทศเริ่มต้นของภูมิภาคเอชียอย่างญี่ปุ่นได้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในฐานะประเทศที่จะมีการขยายสาขามาประเทศไทยในอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ปี 2020