Category Business Insights March 30, 2022 แฟรนไชส์กลยุทธ์หนึ่งในการต่อยอดธุรกิจ ก่อนที่จะส่งต่อความสำเร็จและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้ลงทุนธุรกิจ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อให้สามารถควบคุม หรือบริหารจัดการธุรกิจได้เหมือนกันทุกสาขา ภายใต้เงื่อนไขหรือมาตรฐานเดียว สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญคือสัญญาแฟรนไชส์ โดยปกติแฟรนไชซอร์ต้องทำความเข้าใจในคำที่เรียกว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” คือ สิ่งที่คิดค้น สร้างสรรค์ขึ้นจากมันสมองของแฟรนไชซอร์ เช่น เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ โนว์ฮาว หรือรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนในการทำธุรกิจ บางอย่างก็อยู่ภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา บางอย่างก็ไม่อยู่ ทำให้การปกป้องมิใช่เรื่องง่าย หลักการคุ้มครองที่ต้องรู้ก่อนทำสัญญา แฟรนไชส์ 3 ด้านดังนี้ การคุ้มครองโดยสัญญา สัญญาแฟรนไชส์เป็นเอกสารสำคัญในธุรกิจแฟรนไชส์ ยิ่งตอนนี้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์โดยเฉพาะ สัญญาจึงเป็นกลไกหลักเลยก็ว่าได้ แต่อยากเตือนไว้ก่อนว่า ไม่มีสัญญาใดในโลกที่สมบูรณ์ และสัญญาอาจไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา เพราะการบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์ที่ดี คือการบริหารความสัมพันธ์ ต่างฝ่ายต้องพึ่งพากัน ช่วยเหลือกัน เพื่อให้ทุกสาขาเติบโตร่วมกั การคุ้มครองจากแผนกลยุทธ์ธุรกิจ ปกติจะแฟรนไชส์ซอร์ จะออกแบบธุรกิจให้แฟรนไชซี สามารถทำตามได้ระบบได้ง่าย ลงทุนต่ำกว่าเริ่มต้นธุรกิจใหม่ทั้งหมด แต่ลอกเลียนแบบแฟรนไชซอร์ได้ยาก แต่ละธุรกิจจะมีสินค้าบริการที่แตกต่างกัน การวางมาตรการเพื่อป้องกันการลอกเลียนจึงแตกต่างกันไป การบังคับซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อไม่ให้แฟรนไชซีรู้สูตรลับ ป้องกันการลอกเลียนถือเป็นมาตรการหนึ่งที่แฟรนไชซอร์นิยมใช้ แฟรนไชซียังคงทำธุรกิจได้ตามมาตรฐานของแฟรนไชซอร์ แต่ไม่รู้มากพอที่จะออกไปทำเองได้ การคุ้มครองด้วยกฎหมาย เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า แฟรนไชซีได้รับสิทธิให้ใช้เฉพาะตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น จะไปแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง หรือแอบเอาไปจดที่ประเทศอื่นอย่างนี้ก็จัดการตามกฎหมายได้ ข้อมูลทางการค้า เทคนิค วิธีการบางอย่างก็ถือเป็นความลับทางการค้า ถ้าแฟรนไชซีเอาไปเปิดเผยก็ถือว่าผิดกฎหมายความลับทางการค้าเช่นกัน อันหลังนี่ ไม่ต้องไปจดทะเบียนเหมือนเครื่องหมายการค้าด้วย กลไกป้องกันอย่างหนึ่ง ในระบบแฟรนไชส์ เขาจะไม่ยอมให้แฟรนไชซีใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนมาเป็นชื่อตัวของแฟรนไชซี เช่น เอาไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท เป็นต้น เพื่อการป้องกันการสับสนในสถานะของแฟรนไชซอร์ และแฟรนไชซีในระหว่างอายุสัญญาแฟรนไชส์ และหลังเลิกสัญญาแฟรนไชส์ อย่างไรก็ดี กลไกทางกฎหมายในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของแฟรนไชซอร์มีหลายช่องทาง ในทางปฏิบัติจะใช้มาตรการร่วมกันหลายมาตรการ ซึ่งอาจรวมถึงเงื่อนไขในสัญญาที่ห้ามแฟรนไชซีประกอบธุรกิจแข่งขันหลังจากสัญญาแฟรนไชส์สิ้นสุดลงแล้วด้วย การวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม จึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนจะเริ่มขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ Click to share on Facebook (Opens in new window)Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Pinterest (Opens in new window)Click to share on Tumblr (Opens in new window) Leave a Reply Cancel replyYour email address will not be published. Required fields are marked *Comment * Name * Email * Website Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment. This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.